ประวัติความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติที่ สร.0201/ว78 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2519 เรื่อง การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในส่วนราชการ โดยกำหนดให้ส่วนราชการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในขึ้น ในปี พ.ศ.2519 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นผู้พิจารณากำหนดตำแหน่งและให้กระทรวงการคลัง รับผิดชอบในการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าวโดยเริ่มแรกได้แต่งตั้งข้าราชการ ฝ่ายคลัง กองกลาง ให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2527 ได้มีการบรรจุข้าราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน โดยเริ่มแรกมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในประจำที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 1 คน และพระราชวังสนามจันทร์ 1 คน ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มีการปรับโครงสร้างงานตรวจสอบภายในใหม่ โดยรวมอัตราไว้ที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ แต่ให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานประจำสถานที่ละ 1 คน โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในขึ้น 1 คน เพื่อควบคุมดูแล ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 1110/2532 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2532 ต่อมาได้มีการแต่งตั้งหัวหน้างานตรวจสอบภายใน ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยศิลปากรที่820/2536 ลงวันที่ 6 กันยายน 2536 และตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ได้ย้ายบุคลากรมาอยู่รวมกันที่ชั้น 7 สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างและสายการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ ได้มีการทบทวนบทบาทและภารกิจของหน่วยงานภาครัฐตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างในรูปแบบใหม่ของทุกส่วนงานราชการ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 ) และที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 มีมติให้ปรับปรุงโครงสร้างงานตรวจสอบภายใน เป็น สำนักงานตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับเทียบเท่ากอง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 โดยมีการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตรวจสอบภายในใหม่ โดยแบ่งเป็น งานตรวจสอบที่ 1 งานตรวจสอบที่ 2 งานวิชาการและวางแผน และงานบริหารและธุรการ ซึ่งทั้ง 4 งานนั้นจะมีผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายใน เป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานตามประกาศมหาวิทยาลัยเรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงานของมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับที่5)พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ให้แบ่งหน่วยงานภายในของสำนักงานอธิการบดี โดยสำนักงานตรวจสอบภายในเป็นหน่วยงานภายในระดับกองที่มีภาระหน้าที่เฉพาะหรือตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แบ่งหน่วยงานย่อยเป็น 2 งาน ได้แก่ งานตรวจสอบ และงานบริหารกลยุทธ์ตรวจสอบ
ปรัชญา พันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยม
- มุ่งหวังให้เกิดธรรมาภิบาล(Governance) ขึ้นในมหาวิทยาลัย สนับสนุนให้เกิดสามัญสำนึกในภาระหน้าที่ (Accountability) และความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย (Responsibility) ด้วยสมรรถนะในวิชาชีพ (Competency) ที่สอดคล้องกับกระบวนการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย โดยนำหลักการวิชาชีพตรวจสอบภายในสากล (The International Internal Audit , The Institute of Internal Auditors , IIA) มาเป็นแนวปฏิบัติ
- เป็นศูนย์กลางข้อมูลได้จากการตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Audit) การบริหาร (Management Audit) ผลสำเร็จการบริหาร (Performance Audit) ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการเงิน (Information System Audit) การบังคับใช้กฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ ระบบการควบคุมความคิดเห็นภายใน มาตรฐานวิชาชีพ (Compliance Audit) สามารถให้คำปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อสร้างกระบวนทัศน์ (Paradigm) และเป็นแหล่งบ่มเพาะ (Incubator) องค์ความรู้ด้านการตรวจสอบ
- ให้ความเชื่อมั่นในรายงานการเงินของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน (Efficiency and Effectiveness of Performance) ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ในกิจกรรมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ แนวปฏิบัติ ระบบการควบคุมภายใน มาตรฐานวิชาชีพ ทีมีความเสี่ยงอันอาจทำให้เกิดความเสียหายและการทุจริตในมหาวิทยาลัย
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและอัตรากำลังของสำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร แบ่งออกเป็น 2 งาน ดังนี้
-
- งานตรวจสอบภายใน มีบุคลากรจำนวน 5 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
-
- การสอบทานความเชื่อถือได้และความสมบูรณ์ของสารสนเทศ ด้านการบัญชี การเงิน และการดำเนินงาน
- การสอบทานให้เกิดความมั่นใจว่าระบบที่ใช้เป็นไปตามนโยบายแผน และวิธีปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดไว้ และควรแสดงผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้น
- การสอบทานวิธีการป้องกันดูแลทรัพย์สินว่าเหมาะสม และสามารถพิสูจน์ความมีอยู่จริง ของทรัพย์สินเหล่านั้นได้ กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน
- การประเมินการใช้ทรัพยากรว่าเป็นไปโดยความประหยัดและมีประสิทธิภาพ
- การสอบทานการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมถึงความคืบหน้าตามแผนงานที่กำหนดไว้
- การสอบทานและประเมินผลความเหมาะสมและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในขององค์กร
-
- งานบริหารกลยุทธ์ตรวจสอบ มีบุคลากรจำนวน 5 คน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวิชาการ/ตรวจสอบ จำนวน 4 คนโดยมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่เหมือนกับงานตรวจสอบ และกลุ่มบริหารทั่วไป จำนวน 1 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปภายในสำนักงานตรวจสอบภายใน ซึ่งมีลักษณะงานเกี่ยวกับการรวบรวมตรวจสอบ ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในกระบวนการตามที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติงานตามกระบวนการและแผนงานในความรับผิดชอบ เช่น สรุปรายงาน งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหาร งานการเงิน การพัสดุ และการจัดเตรียมเอกสาร การบันทึกและเรียบเรียงรายงานการประชุมและรายงานอื่น ๆ เป็นต้น
- งานตรวจสอบภายใน มีบุคลากรจำนวน 5 คน โดยมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ภารกิจของงานในสำนักงานตรวจสอบภายใน
-
- ปฏิบัติตามนโยบาย เป้าหมาย ภารกิจ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อสนับสนุนการบริหารงานและการดำเนินงานด้านต่างๆ ด้วยหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสและงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้วยความเที่ยงธรรม
- การให้ความเชื่อมั่นในงานที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี การตรวจสอบหลักฐานอย่างเที่ยงธรรมตามกฎบัตรของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้ได้มาซึ่งการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระในกระบวนการกำกับดูแล การบริหารจัดการความเสี่ยง และความเพียงพอของการควบคุมภายในของหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากร
- การให้คำปรึกษา คำแนะนำ และความคิดเห็นด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ มติ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการเงิน การตรวจสอบภายใน ความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายใน